1

1
1
Home » » ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามลำดับ

ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามลำดับ

** ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามลำดับ ** (อย่างย่อ)

พราหมณ์ ! ในธรรมวินัยนี้ เราสามารถบัญญัติ
กฎเกณฑ์แห่งการศึกษาตามลำดับ การกระทำตามลำดับ
และการปฏิบัติตามลำดับได้เหมือนกัน.
พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนผู้ชำนาญการฝึกม้า
ได้ม้าชนิดที่อาจฝึกได้มาแล้ว ในขั้นแรกย่อมฝึกให้รู้จักการ
รับสวมบังเหียนก่อน แล้วจึงค่อยฝึกอย่างอื่นๆ ให้ยิ่งขึ้นไป
ฉันใด;พราหมณ์เอย ! ตถาคตครั้นได้บุรุษที่พอฝึกได้มาแล้ว
ในขั้นแรกย่อมแนะนำอย่างนี้ก่อนว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยดี
ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็น
เป็นภัยแม้ในโทษที่เล็กน้อย จงสมาทานศึกษาในสิกขาบท
ทั้งหลายเถิด” ดังนี้.

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้มีศีล (เช่นที่
กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์
ทั้งหลาย : ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาโดยนิมิต
(คือรวบถือทั้งหมด ว่างามหรือไม่งามแล้วแต่กรณี) จักไม่ถือเอา
โดยอนุพยัญชนะ (คือแยกถือเอาแต่บางส่วน ว่าส่วนใดงามหรือ
ไม่งามแล้วแต่กรณี), บาปอกุศล กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส
มักไหลไปตามอารมณ์ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใด
เป็นเหตุ เราจักสำรวมอินทรีย์นั้นไว้ เป็นผู้รักษาสำรวม
จักขุนทรีย์” ดังนี้

.(ในกรณี โสตินทรีย์คือหู ฆานินทรีย์คือจมูก ชิวหินทรีย์คือลิ้น
กายินทรีย์คือกาย และมนินทรีย์คือใจ ก็มีข้อความนัยเดียวกัน).
พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้สำรวมอินทรีย์
(เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไ
อีกว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ
อยู่เสมอ จงพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉัน ไม่ฉันเพื่อเล่น
เพื่อมัวเมา เพื่อประดับตกแต่ง, แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้
ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำบาก
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์, โดยคิดว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่า
(คือหิว) เสีย แล้วไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น,
ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และ
ความอยู่ผาสุกสำราญ จักมีแก่เรา” ดังนี้.

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้รู้ประมาณ
ในโภชนะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำ
ให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงประกอบความเพียรใน
ธรรมเป็นเครื่องตื่น (ไม่หลับ ไม่ง่วง ไม่มึนชา). จงชำระจิต
ให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณิยธรรมทั้งหลาย ด้วยการเดิน
การนั่ง ตลอดวันยันค่ำ ไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี.
ครั้นยามกลางแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์
(คือตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า) มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น.
ครั้นถึงยามท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้หมดจด
จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน การนั่ง อีกต่อไป” ดังนี้.

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบ
ความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว
ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย
สติสัมปชัญญะ รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า
การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้
การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป
การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด
การนิ่ง” ดังนี้.

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบด้วย
สติสัมปชัญญะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำ
ให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ
ป่าละเมาะ โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำป่าช้า ป่าชัฏ
ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์
กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ
เฉพาะหน้า,

ละ อภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิต
จากอภิชฌา;
ละ พยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณา มีจิต
หวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาท;
ละ ถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจาก
ถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะ คอยชำระจิตจากถีนมิทธะ;
ละ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน
คอยชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะ;
ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า
‘นี่อะไร นี่อย่างไร’ ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย)
คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา” ดังนี้.
ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่อง
เศร้าหมองของจิต ทำปัญญาให้ถอยจากกำลังเหล่านี้ จึง
บรรลุฌานที่หนึ่ง มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก
แล้วแลอยู่; เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌาน
ที่สอง เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิ
แห่งใจ ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ
แล้วแลอยู่; เพราะความจางหายไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา

มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่สาม
อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้ “เป็นผู้อยู่
อุเบกขา มีสติ มีการอยู่เป็นสุข” แล้วแลอยูู่; และเพราะ
ละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนั
และโทมนัสในกาลก่อน จึงได้บรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์
ไม่สุข มีแต่ความที่มีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธ์ิ เพราะอุเบกขา
แล้วแลอยู่.
พราหมณ์เอย !
ภิกษุเหล่าใดที่ยังเป็นเสขะ (คือยังต้องทำต่อไป) ยัง
ไม่บรรลุอรหัตตผล ยังปรารถนานิพพานอันเป็นที่เกษม
จากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าอยู่, คำสอนที่กล่าวมานี้แหละ
เป็นคำสอนสำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.
ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลง
ได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้น
ไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ, ธรรมทั้งหลาย
(ในคำสอน) เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
และเพื่อสติสัมปชัญญะ แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ด้วย.

อุปริ. ม. ๑๔/๘๒/๙๔.__

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

vdo เทศนาธรรม

vdo

ฟังวิทยุธรรมะออนไลน์

สถานีวิทยุพุทธศาสนา - คลื่นธรรมะออนไลน์

หมายเหตุ : บางช่วงเวลาอาจไม่สามารถฟังผ่านออนไลน์ได้ เนื่องจากข้อมูลต้นทางอาจมีข้อขัดข้องต่าง ๆ ได้เสมอ อย่างไรก็ตามยังมีรายการธรรมะให้ฟังผ่านทางวิทยุได้อีกมากมายครับ 1. สถานีวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนา วัดเกาะวาลุการาม จ.ลำปาง http://www.watkoh.com 2. วัดสังฆทาน ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี http://www.sanghathandhamma.com/ 3. หลวงตาบัว ญาณสัมปันโน http://www.luangta.com สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM103.25MHz. TV. ผ่านดาวเทียม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด


สถานีวิทยุอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สถานีวิทยุ คนกลางเมืองเสียงธรรมเพื่อชีวิต (กทม.) คลื่น FM 102.25 โดย พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต วันจันทร์ - วันอาทิตย์ เวลา 06.00 น. – 24.00 น. รายการ “แสงธรรมส่องชีวิต” สถานีวิทยุธรรมมงคล คลื่น FM 92.75 โดย หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101 ซ.ปุณณวิถี แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม. โทรศัพท์ 0-2741-3988, 0-2741-8867 ออกอากาศทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.30 น. – 24.00 น. http://www.dhammastation.com

สถานที่เผยแผ่ธรรมะทางวิทยุ & โทรทัศน์ “มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา” โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ออกอากาศรายการสนทนาธรรม ทั่วประเทศ ทางสถานีวิทยุ ตามวัน – เวลาในตาราง http://www.dhammahome.com/front/static/radio.php

สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ว.พ.ช.) FM 104.25 อาคารวิทยุพุทธมณฑล (สาย ๔) ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โทร. ๐-๒๔๔๑-๔๕๘๖, ๐-๒๔๔๑-๔๕๑๒, ๐-๒๔๔๑-๕๑๓๙ http://www.thaibudradio.com/

รายการวิทยุธรรมะ Online โดย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย http://www.mbuonline.mbu.ac.th

รายการวิทยุธรรมะ Online โดย ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย http://www.bpct.org/

อ่านอัพเดตทุกวัน....ทันข่าว

 
Support : Your Link | Your Link | Your Link
Copyright © 2013. เว็บบล็อกรวบรวม เทศนาธรรมะ - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger