1

1
1
Home » , , , » มงคลที่ ๓๔ การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

มงคลที่ ๓๔ การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์
ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน
เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน
ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก.
การทำให้แจ้งในพระนิพพาน
นิพพาน คือ ภาวะของจิตที่ดับกิเลสได้หมดสิ้น หลุดจากอำนาจกรรม และไม่ต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏอีก ซึ่งก็คือพ้นจากทุกข์นั่นเอง
ท่านว่าลักษณะของนิพพานมีอยู่ ๒ ระดับดังนี้คือ
๑.การดับกิเลสขณะที่ยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ หรือการเข้าถึงนิพพานขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ -สอุปาทิเสสนิพพาน
๒.การดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่เลย คือการที่ร่างกายเราแตกดับแล้ว ไปเสวยสุขอันเป็นอมตะในพระนิพพาน (ตรงนี้ไม่สามารถอธิบายให้กระจ่างมากไปกว่านี้ได้) -อนุปาทิเสสนิพพาน
การที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้ ก็ต้องปฏิบัติธรรมและเจริญสมาธิภาวนาจนถึงขั้นสูงสุด

ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ
ท่านอธิบายถึงการระลึกถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี ๘ ข้อ ไว้เป็นแนวเครื่องระลึก ดังจะนำมา
เขียนไว้เพื่อเป็นเครื่องอุปกรณ์ในการระลึกดังต่อไปนี้
บาลีปรารภพระนิพพาน ๘
๑. มทนิมฺมทโน แปลว่า พระนิพพานย่ำยีเสียซึ่งความเมา มีความเมาในความเป็น
คนหนุ่ม และเมาในชีวิต โดยคิดว่าตนจะไม่ตายเป็นต้น ให้สิ้นไปจากอารมณ์ คือคิดเป็นปกติเสมอว่า
ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน โลกนี้ทั้งสิ้น มีความฉิบหายเป็นที่สุด
๒. ปิปาสวินโย แปลว่า พระนิพพาน บรรเทาซึ่งความกระหาย คือความใคร่กำหนัด
ยินดีในกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และการถูกต้องสัมผัส
๓. อาลยสมุคฺฆาโต แปลว่า พระนิพพาน ถอนเสียซึ่งอาลัยในกามคุณ ๕ หมายความ
ว่า ท่านที่เข้าถึงพระนิพพาน คือมีกิเลสสิ้นแล้ว ย่อมไม่ผูกพันในกามคุณ ๕ เห็นกามคุณ ๕ เสมือน
เห็นซากศพ
๔. วัฏฏปัจเฉโท แปลว่า พระนิพพาน ตัดเสียซึ่งวนสาม คือ กิเลสวัฏได้แก่ ตัดกิเลส
ได้สิ้นเชิง ไม่มีความมัวเมาในกิเลสเหลืออยู่แม้แต่น้อย กรรมวัฏ ตัดกรรม อันเป็นบาปอกุศล วิปากวัฏ
คือตัดผลกรรมที่เป็นอกุศลได้สิ้นเชิง
๕. ตัณหักขโย, วิราโค, นิโรโธ แปลว่า นิพพานธรรมนั้น ถึงความสิ้นไปแห่ง
ตัณหา ตัณหาไม่กำเริบอีก มีความหน่ายในตัณหา ไม่มีความพอใจในตัณหาอีก ดับตัณหาเสียได้สนิท
ตัณหาไม่กำเริบขึ้นอีกได้แม้แต่น้อย
๖. นิพพานัง แปลว่า ดับสนิทแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรมอำนาจทั้ง ๔ นี้ ไม่มีโอกาสจะให้ผล แก่ท่านที่มีจิตเข้าถึงพระนิพพานแล้วได้อีก ตามข้อปรากฏว่ามีเพียง ๖ ข้อ ความจริงข้อที่ ๕ ท่านรวมไว้ ๓ อย่าง คือ ตัณหักขโย ๑ วิราโค ๑ นิโรโธ ๑ ข้อนี้รวมกันไว้เสีย ๓ ข้อแล้ว ทั้งหมดจึงเป็น ๘ ข้อพอดี ท่านลงในแบบว่า ๘ ก็เขียนว่า ๘ ตามท่าน ความจริงเมื่อท่านจะรวมกัน ท่านน่าจะเขียนว่า ๖ ข้อก็จะสิ้นเรื่อง เมื่อท่าน เขียนเป็นแบบมาอย่างนี้ ก็เขียนตามท่าน
ท่านสอนให้ตั้งจิตกำหนดความดีของพระนิพพาน ตามในบาลีทั้ง ๘ แม้ข้อใด ข้อหนึ่งก็ได้ตามความพอใจ แต่ท่านก็แนะไว้ในที่เดียวกันว่า บริกรรมภาวนาว่า "นิพพานัง" นั่นแหละดีอย่างยิ่งภาวนาไป จนกว่าจิตจะเข้าสู่อุปจารฌาน โดยที่จิตระงับนิวรณ์ ๕ ได้สงบแล้ว เข้าถึงอุปจารฌานเป็นที่สุด กรรมฐานนี้ ที่ท่านกล่าวว่าได้ถึงที่สุด เพียงอุปจารฌานก็เพราะ เป็นกรรมฐานละเอียดสุขุม และใช้อารมณ์ใคร่ครวญเป็นปกติ กรรมฐานนี้จึงมีกำลังไม่ถึงฌาน
อานิสงส์
อานิสงส์ที่ใช้อารมณ์ใคร่ครวญถึงพระนิพพานนี้มีผลมาก เป็นปัจจัยให้ละอารมณ์ที่คลุกเคล้าด้วยอำนาจกิเลส และตัณหา เห็นโทษในวัฏฏะ เป็นปัจจัยให้แสวงหาทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ อันเป็นปฏิปทาไปสู่พระนิพพาน เป็นกรรมฐานที่นักปฏิบัติได้ผลเป็นกำไร เพราะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างสบาย ขอท่านนักปฏิบัติจงสนใจกรรมฐานกองนี้ให้มาก ๆ และแสวงหาแนวปฏิบัติ ที่เข้าตรงต่อพระนิพพานมาปฏิบัติ ท่านมีโอกาสจะเข้าสู่พระนิพพานได้อย่างไม่ยากนัก เพราะระลึกนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์นี้ เป็นองค์หนึ่งในองค์สามของพระโสดาบัน ชื่อว่าท่านก้าวเข้าไปเป็นพระโสดาบันหนึ่งในสามขององค์พระโสดาบันแล้ว เหลืออีกสองต้องควรแสวงหาให้ครบถ้วน
พระนิพพานไม่สูญ
ท่านนักปฏิบัติได้กำหนดกรรมฐานในอุปสมานุสสตินี้แล้ว ท่านอาจจะต้องประสบกับปัญหายุ่งสมอง ในเรื่องพระนิพพานอีกตอนหนึ่ง เพราะบรรดานักคิดนักแต่งทั้งหลาย ได้พากันโฆษณามาหลายร้อยปีแล้วว่า พระนิพพานเป็นสภาพสูญ แต่พอมาอ่านหนังสือของพระอรหันต์ท่านเขียน คือหนังสือวิสุทธิ- มรรค ท่านกลับยืนยันว่า พระนิพพานไม่สูญ ดังท่านจะเห็นตามบาลีทั้ง ๘ ที่ท่านยกมาเป็นองค์ภาวนา นั้น คือ มทนิมฺมทโน พระนิพพานตัดความเมาในชีวิต ปิปาสวินโย นิพพานบรรเทาความกระหายใน กามคุณ ๕ อาลยสมุคฺฆาโต พระนิพพานถอนอาลัยในกามคุณ วัฏฏปัจเฉโท พระนิพพานตัดวนสาม
ให้ขาด ตัณหักขโย พระนิพพานมีตัณหาสิ้นแล้ว หรือสิ้นตัณหาแล้วเข้าสู่นิพพาน วิราโค มีความเบื่อหน่ายในตัณหา นิโรโธ ดับตัณหาได้สนิทแล้ว โดยตัณหาไม่กำเริบอีก นิพพานัง มีความดับสนิทแล้วจากกิเลส ตัณหา อุปาทานกรรม อันเป็นเหตุให้เกิดอีกในวัฏสงสาร

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

vdo เทศนาธรรม

vdo

ฟังวิทยุธรรมะออนไลน์

สถานีวิทยุพุทธศาสนา - คลื่นธรรมะออนไลน์

หมายเหตุ : บางช่วงเวลาอาจไม่สามารถฟังผ่านออนไลน์ได้ เนื่องจากข้อมูลต้นทางอาจมีข้อขัดข้องต่าง ๆ ได้เสมอ อย่างไรก็ตามยังมีรายการธรรมะให้ฟังผ่านทางวิทยุได้อีกมากมายครับ 1. สถานีวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนา วัดเกาะวาลุการาม จ.ลำปาง http://www.watkoh.com 2. วัดสังฆทาน ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี http://www.sanghathandhamma.com/ 3. หลวงตาบัว ญาณสัมปันโน http://www.luangta.com สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM103.25MHz. TV. ผ่านดาวเทียม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด


สถานีวิทยุอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สถานีวิทยุ คนกลางเมืองเสียงธรรมเพื่อชีวิต (กทม.) คลื่น FM 102.25 โดย พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต วันจันทร์ - วันอาทิตย์ เวลา 06.00 น. – 24.00 น. รายการ “แสงธรรมส่องชีวิต” สถานีวิทยุธรรมมงคล คลื่น FM 92.75 โดย หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101 ซ.ปุณณวิถี แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม. โทรศัพท์ 0-2741-3988, 0-2741-8867 ออกอากาศทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.30 น. – 24.00 น. http://www.dhammastation.com

สถานที่เผยแผ่ธรรมะทางวิทยุ & โทรทัศน์ “มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา” โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ออกอากาศรายการสนทนาธรรม ทั่วประเทศ ทางสถานีวิทยุ ตามวัน – เวลาในตาราง http://www.dhammahome.com/front/static/radio.php

สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ว.พ.ช.) FM 104.25 อาคารวิทยุพุทธมณฑล (สาย ๔) ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โทร. ๐-๒๔๔๑-๔๕๘๖, ๐-๒๔๔๑-๔๕๑๒, ๐-๒๔๔๑-๕๑๓๙ http://www.thaibudradio.com/

รายการวิทยุธรรมะ Online โดย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย http://www.mbuonline.mbu.ac.th

รายการวิทยุธรรมะ Online โดย ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย http://www.bpct.org/

อ่านอัพเดตทุกวัน....ทันข่าว

 
Support : Your Link | Your Link | Your Link
Copyright © 2013. เว็บบล็อกรวบรวม เทศนาธรรมะ - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger