พาลูกน้อยของตนไปหาพราหมณ์ที่เป็นสหายซึ่งถือพรตบำเพ็ญตบะ
เมื่อพราหมณ์ ๒ ผัวเมียทำความเคารพ
พราหมณ์ที่บำเพ็ญตบะได้กล่าวอำนวยพรว่า
“ขอจงจำเริญอายุยืนนาน”
แต่เมื่อให้บุตรของตนทำความเคารพ
พราหมณ์ผู้บำเพ็ญตบะหาได้กล่าวอวยพรให้ตามธรรมเนียมไม่
โดยบอกเหตุผลบอกว่า
ลูกน้อยของพราหมณ์ ๒ ผัวเมียจะต้องตายภายใน ๗ วัน
พราหมณ์ผู้บำเพ็ญตบะ ได้แนะนำให้พราหมณ์ ๒ ผัวเมีย
พาลูกไปหาพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ได้ตรัสแถลงเช่นเดียวกัน และแนะนำอุบายป้องกัน
โดยการนิมนต์พระสงฆ์สวดพระปริตรตลอด ๗ วัน
ซึ่งพราหมณ์ทั้งสองก็กระทำตามครั้นถึงวันที่ ๗
พระพุทธองค์เสด็จไปด้วยพระองค์เอง
ทำให้ยักษ์ผู้ได้รับพรมาเพื่อฆ่ากุมาร
ไม่อาจทำอันตรายพระกุมารนั้นนอนฟังพระปริตรอยู่
ด้วยพุทธานุภาพประกอบกับอายุไม่ถึงการดับแห่งขาร
ทำให้ทารกนั้นรอดพ้นอันตราย และมีอายุยืนยาวถึง ๑๒๐ ปี
• ประเพณีทำบุญวันเกิด
เกิดขึ้นเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงทำเป็นตัวอย่างตั้งแต่ยังทรงผนวช ไม่ใช่ทำอย่างจีนหรือฝรั่ง
ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่า
การมีอายุยืนมาบรรจบรอบปีครั้งหนึ่งๆ
ไม่ตายไปเสียก่อนเป็นลาภอันประเสริฐ ควรยินดี
เมื่อรู้สึกยินดีก็ควรจะบำเพ็ญกุศล
ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น ให้สมกับที่มีน้ำใจยินดี และไม่ประมาท
เพราะไม่สามารถจะรู้ได้ว่าจะอยู่ไปบรรจบรอบปีเช่นนี้อีกหรือไม่
ถึงวันเกิดปีหนึ่งเป็นที่เตือนใจครั้งหนึ่ง
ให้รู้สึกว่าอายุล่วงไปต่อความตายอีกก้าวหนึ่งชั้นหนึ่ง
เมื่อรู้สึกเช่นนั้น จะได้บรรเทาความมัวเมาประมาทในชีวิต
นี้เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการทำบุญวันเกิดขึ้นเรียกว่าเฉลิมพระชนมพรรษา
การที่ทรงทำในครั้งนั้น
ปรากฏว่ามีการสวดมนต์เลี้ยงพระ ๑๐ รูป เป็นการน้อยๆ เงียบๆ
ครั้นต่อมาก็มีเจ้านายขุนนางทำบุญวันเกิดกันชุกชุมขึ้น
แต่การทำบุญเกี่ยวกับพระลดลง
เป็นแค่ประชุมคนแสดงเกียรติยศให้ปรากฏว่ามีผู้นับถึอมาก
ตั้งโรงครัวเลี้ยงกันไปวันยังค่ำการมหรสพก็มีละครเป็นพื้น
และนำของขวัญไปให้กันมีการเลี้ยงดูกันอย่างสนุกสนานให้ศีลให้พรกัน
ถ้าเป็นวันเกิดเจ้านายขุนนางชั้นผู้ใหญ่
พระเจ้าแผ่นดินก็พระราชทานพระราชหัตถเลขาให้พรด้วย
พระราชทานของขวัญด้วย สมัยนั้นการทำบุญถือเป็นเกียรติใหญ่
เมื่อถึงวันเกิดของใครก็อึงคนึงเป็นการใหญ่ตั้งแต่เริ่มงานจนงานแล้ว
และถือว่าถ้าไม่ไปช่วยงานวันเกิดกันแล้วเป็นไม่ดูผีกันทีเดียว
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณรก็ทรงทำบุญวันพระราชสมภพ
ตามอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วิธีทำก็มี สวดมนต์ เลี้ยงพระและแจกสลากสิ่งของต่างๆ แก่พระสงฆ์
ทรงทำตลอดมาจนกระทั่งเสวยราชย์และทำเป็นการใหญ่เช่น
หล่อพระพุทธรูปอายุ เรียกว่า “หล่อพระชนมพรรษา”
ทั้งมีการตกแต่งตามชาลาพระบรมมหาราชวัง
ให้เป็นการครึกครื้นสนุกสนาน
ตามริมน้ำและตามถนนก็สว่างไสวไปด้วยแสงประทีปโคมชวาลา
จึงได้เกิดมีการแต่งซุ้มไฟประกวดประขันกันขึ้น
และมีเหรียญพระราชทานแก่ผู้แต่งซุ้มไฟเป็นรางวัล
อนึ่งในวันนั้นได้มีผู้ไปลงนามถวายพระพร พระบรมวงศานุวงศ์
และข้าราชการอ่านคำถวายพระพรอันเป็นเครื่องหมายแสดงความจงรักภักดี
จึงถือเป็นประเพณีเนื่องด้วยทำบุญวันเกิดมาจนปัจจุบันนี้
• วิธีปฏิบัติในการทำบุญวันเกิด
อาจเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ ดังนี้
๑. ตักบาตรพระสงฆ์เท่าอายุหรือเกินอายุหรือกี่รูปก็ได้ตามสะดวก
๒. บำเพ็ญกุศลอุทิศแก่บรรพบุรุษ ที่เรียกว่า
ทักษิณานุประทานก่อนแล้วจึงบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเกิด
๓. ทำบุญ สวดมนต์ เลี้ยงพระ หรือมีพระธรรมเทศนาด้วย
๔. ถวายสังฆทาน
๕. ทำทานช่วยชีวิตสัตว์ เช่นปล่อยนก ปล่อยปลา ฯลฯ
หรือส่งเงินไปบำรุงโรงพยาบาลหรือกิจกรรมด้านสังคมสงเคราะห์อื่นๆ
๖. รักษาศีลหรือบำเพ็ญภาวนา
๗. กราบขอรับพรจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ
๘. บำเพ็ญคุณประโยชน์อื่นๆ โดยมุ่งที่การให้ มากกว่า เป็นการรับ
อานิสงส์หรือผลดีของการทำบุญวันเกิด
• การทำบุญวันเกิด
คือการปรารภวันเกิดและทำความดีในวันนั้นเป็นเหตุให้ได้รับผลดี
หรืออานิสงส์ตอบแทน
ดังมีพุทธภาษิตความว่า
“ผู้ให้อาหาร ชื่อว่า ให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่า ให้ผิวพรรณ
ผู้ให้ยาน ชื่อว่า ให้ความสุข ผู้ให้ประทีป ชื่อว่า ให้ดวงตา”
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ ข้อ ๑๓๘ หน้า ๔๔)
และพระพุทธภาษิต ความว่า
“ผู้ให้สิ่งที่น่าพอใจ ย่อมได้สิ่งที่น่าพอใจ ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศ
ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมได้สิ่งที่ประเสริฐ ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐสุด ย่อมได้สิ่งที่ประเสริฐสุด”
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ ข้อ ๔๔ หน้า
• ข้อเสนอแนะ
๑. กิจกรรมในการทำบุญวันเกิดควรเน้นคุณค่าทางจิตใจมากกว่าวัตถุ
เช่นทำจิตใจให้สงบแจ่มใสและ ทำบุญตามศรัทธา
๒. ควรเป็นกิจกรรมที่มุ่งบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือส่วนรวม เช่น
การบริจาคทานสมทบทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ ใช้แรงงานของตนเองเพื่อส่วนรวม
๓. ควรมุ่งเน้นให้เป็นการประหยัด
จัดงานวันเกิดในวงครอบครัวไม่ควรจัดหรูหราฟุ่มเฟือย
๔. ควรอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ไม่จำเป็นต้องจัดแบบต่างประเทศ
เช่นตัดเค้กวันเกิดจุดเทียน หรือเป่าเทียน
ร้องเพลงภาษาต่างประเทศอวยพรวันเกิด ฯลฯ
๕. ในกรณีที่ผู้น้อยไปรดน้ำอวยพรวันเกิดผู้ใหญ่
นิยมอ้างคุณพระศรีรัตนตรัยก่อนแล้วจึงมีคำอวยพร
ส่วนของขวัญที่จะให้นั้นควรทำด้วยน้ำพักน้ำแรง
หรือของที่ประดิษฐ์ด้วยฝีมือตนเอง
ถ้าเป็นดอกไม้ควรเป็นดอกไม้ที่ปลูกในประเทศไทย
กรณีที่ผู้ใหญ่อวยพรวันเกิดผู้น้อย ผู้ใหญ่ควรกล่าวถ้อยคำอันเป็นมงคลแก่ผู้รับพร
ที่มา : http://www.panyathai.or.th/
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น